ชื่อ/รายละเอียด/โครงการ/กิจกรรม/Activity/Lecture/Reasearch/Conference

โครงการ "การเพิ่มศักยภาพการสร้างบุคลากรสนับสนุนทางการแพทย์และรองรับการขยายตัวของความต้องการอุปกรณ์และเครื่องมือทางการแพทย์"


ชื่อโครงการ/Project Name:

โครงการ "การเพิ่มศักยภาพการสร้างบุคลากรสนับสนุนทางการแพทย์และรองรับการขยายตัวของความต้องการอุปกรณ์และเครื่องมือทางการแพทย์"

 

ที่มาและความสำคัญ(Background and importance) *:

เนื่องจากการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ส่งผลอย่างรุนแรงไปทั่วโลกและเกิดผลกระทบเป็นวงกว้างต่อหลายภาคส่วนในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นด้านความมั่นคงของเศราฐกิจภายในประเทศ อุตสาหกรรม การเกษตร หรือด้านการบริการและการท่องเที่ยว เนื่องจากไวรัสโคโรนา 2019 สามารถเกิดกลายพันธุ์ได้ง่ายทำให้การระบาดเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและไม่มีจัดสิ้นสุดอีกทั้งในปัจจุบันมีแนวโน้วจะเกิดการระบาดของโรคฝีดาษลิง และโรคอื่นๆที่สามารถเกิดระบาดขึ้นได้ในอนาคต ดังนั้นการเตรียมความพร้อมด้านแพทย์ และอุปกรณ์ทางการแพทย์ของประเทศจึงเป็นเรื่องสำคัญ ดังนั้นการสร้างบุคลากรด้านการแพทย์ที่มีความสามารถในการวิจัย ปรับปรุง สร้าง และพัฒนาอุปกรณ์ทางการแพทย์จะเป็นการช่วยในการสนับสนุนการรักษาและเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือภัยพิบัติด้านสารธารณสุขได้ในอนาคต จากการที่ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นภาคที่วิชาที่ถูกก่อตั้งเป็นที่แรกของประเทศ ทำให้มีรากฐานที่พร้อมจะพัฒนา โดยปัจจุบันได้มีโครงการเพื่อรวมกลุ่มและเชื่อมโยงอุตสาหกรรมการแพทย์ที่เป็นวิสหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) อยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจรที่มีการรวมตัวมาก่อนแล้วระดับหนึ่งและได้รับการคัดเลือกจากคณะทำงานไม่น้อยกว่า 20 กิจการ โดยในโครงการนี้ ภาควิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จะเป็นตัวกลางในการเชื่อมโยงวิสาหกิจขนาดต่างๆ และทำหน้าที่เป็นผู้ให้คำปรึกษา จัดกิจกรรมให้ความรู้ในการพัฒนาและนำเทคโนโลยีเชิงลึก (Deep Tech) เพื่อให้เกิดการส่งเสริมและสร้างแนวคิดหรือนวัตกรรมใหม่ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ เพื่อเป็นการส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรทางการแพทย์รวมถึงการเสริมสร้างองค์ความรู้และแนะนำเทคโนโบยีใหม่ๆในปัจจุบันให้แก่พนักงานและผู้ประกอบการด้านการแพทย์ ทางภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์จึงได้ดำเนินการจัดทำโครงการ "อบรมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับนวัตกรรมของเครือข่ายกลุ่มอุตสาหกรรมการแพทย์" ในวันที่ 5-6 กันยายน 2565 ในหัวข้อเกี่ยวกับ Current Medical Device Ecosystem, Medical RoadMap, Workshop Medical Device Ecosystem ระดมสอมบการสร้างเครือข่ายเพื่อพัฒนา Ecosystem ของกลุ่มผู้เข้าอบรม และเราจะเติมเต็มกันได้อย่างไร การพัฒนาการเชื่อมโยงอย่างเป็นรูปธรรม รวมถึงเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมสามารถซักถามข้อสงสัยในหัวข้อต่างๆ ได้ เพื่อเป็นการเพิ่มความรู้ แนะนำเทคโนโลยีในปัจจุบัน และสร้างแนวคิดให้แก่ผู้ที่ทำงานด้านอุปกรณ์ทางการแพทย์ และสามารถนำไปต่อยอดและพัฒนาสร้างอุปกรณ์ทางการแพทย์เพื่อใช้ในการรับมือปัญหาทางสาธารณสุขต่างๆได้ อีกทั้งหากเกิดภัยพิบัติทางสาธารณสุขขึ้นการทราบถึงเทคโนโลยีใหม่ๆ และความรู้ด้านการแพทย์ต่างๆจะช่วยให้เกิดการพัฒนาสินค้าที่สามารถรักษา ป้องกันหรือบรรเทาภัยพิบัติทางสาธารณสุขดังกล่าวได้ ซึ่งจะช่วยลดผลกระทบต่างๆที่จะสร้างความเสียหายให้แก่ประเทศ นอกจากนี้การอบรมนี้จะช่วยให้เกิดการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับมหาวิทยาลัยมหิดล คณะวิศวกรรมศาสตร์ และภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ ไปยัง ผู้ปฏิบัติงานทางการแพทย์ และบริษัททางการแพทย์ต่างๆ ซึ่งจะส่งผลให้ผู้เข้าร่วมทราบถึงการดำเนินงานต่างๆ ของคณะวิศวกรรมศาสตร์และมหาวิทยาลัยมหิดล รวมถึงส่งเสริมและเพิ่มโอกาสให้เกิดการเชื่อมโยงการทำงานระหว่างภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดลกับบริษัทอุตสาหกรรมทางการแพทย์ซึ่งจะช่วยให้เกิดการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีต่างๆเกี่ยวกับการแพทย์ได้

วัตถุประสงค์/Objective *:

1. เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรม ได้มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับวัสดุทางการแพทย์ และเทคโนโลยีเซนเซอร์ด้านการแพทย์เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์เพื่อใช้รับมือปัญหาทางสาธารณสุข 2. ความเชื่อมโยงเครือข่ายกลุ่มอุตสาหกรรมการแพทย์ที่มีอยู่เดิมและเกิดใหม่ ให้เกิดพันธมิตร ทางธุรกิจในการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ตลอดจนโซ่อุปทานและห่งโซ่คุณค่า (Value Chain) โดยใช้ ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลเป็นหน่วยหลักในการประสานงาน กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการส่งเสริมสนับสนุนพัฒนาอุตสาหกรรม โดยนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและความคิดสร้างสรรค์มาประยุกต์ก่อให้เกิดการเพิ่มผลิตภาพและนวัตกรรม นำไปสู่การพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน 3. รวมกลุ่มกิจการที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการแพทย์เป้าหมายให้เข้มแข็งและยกระดับความร่วมมือ สร้างสรรค์นวัตกรรมและพัฒนาต่อยอดไปสู่อุตสาหกรรมแห่งอนาคตที่ใช้เทคโนโลยีการผลิตและดิจิทัลในการเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันโดยผ่านการถ่ายทอดเทคโนโลยีและการปรึกษาเชิงวิชาการและธุรกิจอุตสาหกรรมจากผู้เชี่ยวชาญในแต่ละด้าน 4. เพื่อประชาสัมพันธ์ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยมหิดลให้เป็นที่รู้จักในด้านวิชาการรวมถึงช่วยส่งเสริมการเชื่อมโยงระหว่างบริษัทอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์กับหน่วยงานมหาวิทยาลัย

วันที่เริ่มกิจกรรม/โครงการ *:

2022-07-14

สถานที่จัดกิจกรรม/โครงการ:

ไทย

วันสิ้นสุดกิจกรรม/โครงการ *:

2022-09-16

สถานที่จัดกิจกรรม/โครงการ
(Activity / project location):

โรงแรม ibis Bangkok Riverside

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง/
ผู้มีส่วนได้เสีย(Related Stakeholders) *:

ผู้ประกอบการบริษัททางการแพทย์ 20 บริษัท

หน่วยงานที่รับผิดชอบ(Responsible agency) *:

ผลกระทบต่อสังคมที่ประเมินได้(social impact) *:


รูปแบบการดำเนินกิจกรรม/โครงการ
(Activity / project implementation model) *:

กิจกรรม / การบรรยาย

จำนวน/ผู้ร่วมกิจกรรม(คน)
(Target / Activity country) *:

40 คน

กลุ่มเป้าหมาย/กลุ่มผู้ร่วมกิจกรรม
(Target / Activity group) *:

การจัดอบรมอย่างต่อเนื่อง เพื่อกระจายความรู้อย่างกว้างขวาง

วันที่เริ่มนำไปใช้ *:

2022-09-16

ไฟล์เอกสาร

08122022141234_อนุมัติโครงการ ibis 4-5 ก.ย (2).pdf

เอกสารอ้างอิง(Reference document) (link/url) *:

-https://www.eg.mahidol.ac.th/egmu/ -เพจ FB : วิศวะมหิดลเพื่อสังคม -https://www.eg.mahidol.ac.th/dept/egbe/

SDG goal ที่เกี่ยวข้องอันดับ1 (1 Related SDGs Goal) *:

เป้าหมายที่ 3: สร้างหลักประกันว่าคนมีชีวิตที่มีสุขภาพดีและส่งเสริมสวัสดิภาพสำหรับทุกคนในทุกวัย

SDG goal ที่เกี่ยวข้องอันดับ2 (2 Related SDGs Goal) *:

เป้าหมายที่ 17: เสริมความเข้มแข็งให้แก่กลไกการดำเนินงานและฟื้นฟูสภาพหุ้นส่วนความร่วมมือระดับโลกสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืน