ชื่อ/รายละเอียด/โครงการ/กิจกรรม/Activity/Lecture/Reasearch/Conference

การประยุกต์เทคโนโลยีด้านปัญญาประดิษฐ์ในการพัฒนางานบริหารเขื่อน-อ่างเก็บน้ำแบบอัจฉริยะเพื่อการแก้ปัญหาอุทกภัยและภัยแล้งระยะยาวในลุ่มน้ำมูลตอนบน


ชื่อโครงการ/Project Name:

การประยุกต์เทคโนโลยีด้านปัญญาประดิษฐ์ในการพัฒนางานบริหารเขื่อน-อ่างเก็บน้ำแบบอัจฉริยะเพื่อการแก้ปัญหาอุทกภัยและภัยแล้งระยะยาวในลุ่มน้ำมูลตอนบน

 

ที่มาและความสำคัญ(Background and importance) *:

โครงการวิจัยการประยุกต์เทคโนโลยีด้านปัญญาประดิษฐ์ในการพัฒนางานบริหารเขื่อน–อ่างเก็บน้ำแบบอัจฉริยะเพื่อการแก้ปัญหาอุทกภัยและภัยแล้งระยะยาวในลุ่มน้ำมูลตอนบนจึงได้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อเป็นผลักดันให้เกิดนวัตกรรมในการบริหารจัดการน้ำจากอ่างเก็บน้ำในลักษณะของปฏิบัติการอ่างเก็บน้ำร่วมกันแบบหลายอ่าง (Multiple Reservoir Re–operation System) รูปแบบใหม่อย่างเป็นระบบโดยใช้เทคนิคด้านปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence, AI) ในการบริหารเขื่อน–อ่างเก็บน้ำแบบอัจฉริยะเพื่อการแก้ปัญหาอุทกภัยและภัยแล้งทั้งในระยะสั้นและระยะยาวในลุ่มน้ำมูลตอนบน ยิ่งไปกว่านั้น โครงการวิจัยนี้ยังนับเป็นการพัฒนางานวิจัยให้สอดรับกับแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี (พ.ศ. 2561–2580) ในด้านการสร้างความมั่นคงของน้ำในภาคการผลิตภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561–2580) และเป็นการเสริมสร้างความมั่นคงด้านทรัพยากรน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำมูลตอนบนซึ่งมีความสำคัญต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศผ่านแนวคิดการพัฒนาเครื่องมือในการบริหารจัดการน้ำต้นทุนระยะยาวด้วยเทคนิคปัญญาประดิษฐ์ เพื่อเพิ่มศักยภาพของน้ำต้นทุนตลอดจนบรรเทาปัญหาอุทกภัยและภัยแล้งในอนาคต

วัตถุประสงค์/Objective *:

ประยุกต์เทคโนโลยีด้านปัญญาประดิษฐ์มาใช้ในการพัฒนาแบบจำลองการบริหารเขื่อน–อ่างเก็บน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำมูลตอนบน เพื่อบริหารจัดการน้ำต้นทุนและปริมาณความต้องการน้ำให้เกิดความสมดุลในระยะยาว สามารถลดความเสี่ยงจากปัญหาการขาดแคลนน้ำและอุทกภัยลง 50% และสามารถเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนในระยะยาวของระบบให้สูงขึ้น 15% จากฐานข้อมูลปัจจุบัน

วันที่เริ่มกิจกรรม/โครงการ *:

2021-02-17

สถานที่จัดกิจกรรม/โครงการ:

ประเทศไทย

วันสิ้นสุดกิจกรรม/โครงการ *:

2021-02-16

สถานที่จัดกิจกรรม/โครงการ
(Activity / project location):

พื้นศึกษาครอบคลุมพื้นที่ลุ่มน้ำมูลตอนบน ซึ่งประกอบด้วยเขื่อนหลักที่สำคัญได้แก่ เขื่อนมูลบน เขื่อนลำแชะ เขื่อนลำพระเพลิง เขื่อนลำตะคอง และเขื่อนลำเชียงไกร

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง/
ผู้มีส่วนได้เสีย(Related Stakeholders) *:

กรมชลประทาน สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

หน่วยงานที่รับผิดชอบ(Responsible agency) *:

ผลกระทบต่อสังคมที่ประเมินได้(social impact) *:


รูปแบบการดำเนินกิจกรรม/โครงการ
(Activity / project implementation model) *:

งานวิจัย/สำรวจ/ผลการศึกษา

จำนวน/ผู้ร่วมกิจกรรม(คน)
(Target / Activity country) *:

สายงานการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของกรมชลประทาน สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

กลุ่มเป้าหมาย/กลุ่มผู้ร่วมกิจกรรม
(Target / Activity group) *:

สามารถนำผลผลิตจากงานวิจัยไปประยุกต์ใช้ในการบริหารงานเขื่อน-อ่างเก็บน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำมูลตอนบนได้แก่ 1. แบบจำลองการพยากรณ์ปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำมูลตอนบน 2. แบบจำลองสภาพของระบบลุ่มน้ำด้วยแบบจำลอง MIKE–Hydro Basin ในพื้นที่ลุ่มน้ำมูลตอนบน 3. แบบจำลอง Fuzzy–ANFIS สำหรับการบริหารเขื่อน–อ่างเก็บน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำมูลตอนบน และ 4. แบบจำลอง Constraint Programming สำหรับการบริหารเขื่อน–อ่างเก็บน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำมูลตอนบน

วันที่เริ่มนำไปใช้ *:

2023-02-17

ไฟล์เอกสาร

13092022102803_1_NRCT65_6M Presentation_16Aug2022.pdf

เอกสารอ้างอิง(Reference document) (link/url) *:

-

SDG goal ที่เกี่ยวข้องอันดับ1 (1 Related SDGs Goal) *:

เป้าหมายที่ 13: เร่งต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบที่เกิดขึ้น

SDG goal ที่เกี่ยวข้องอันดับ2 (2 Related SDGs Goal) *:

เป้าหมายที่ 15: ปกป้อง ฟื้นฟู และสนับสนุนการใช้ระบบนิเวศบนบกอย่างยั่งยืน จัดการป่าไม้อย่างยั่งยืนต่อสู้การกลายสภาพเป็นทะเลทราย หยุดการเสื่อมโทรมของที่ดินและฟิ้นสภาพกลับมาใหม่ และหยุดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ