ชื่อ/รายละเอียด/โครงการ/กิจกรรม/Activity/Lecture/Reasearch/Conference

โครงการ “ค่ายจิตอาสาบ่มเพาะวิศวกรรุ่นใหม่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม รุ่นที่ 1”


ชื่อโครงการ/Project Name:

โครงการ “ค่ายจิตอาสาบ่มเพาะวิศวกรรุ่นใหม่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม รุ่นที่ 1”

 

ที่มาและความสำคัญ(Background and importance) *:

ด้วย โรงเรียนวัดถ้ำองจุ วัด และชุมชนบ้านองจุ และภาคีเครือข่ายจิตอาสา ขณะนี้ประสบปัญหาขาดแคลนน้ำใช้ในการดำรงชีวิต เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่ไม่มีระบบชลประทาน โดยปัจจุบันชุมชนใช้ระบบประปาภูเขาจากลำห้วยองจุ ซึ่งห้วยน้ำดังกล่าวจะขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูแล้ง (เมษายน – มิถุนายน) ประกอบกับชุมชน วัด และโรงเรียน ยังขาดความรู้และทักษะในการใช้บริหารจัดการน้ำได้อย่างยั่งยืนโดยการนำเทคโนโลยีเข้ามาสนับสนุน เพื่อใช้แก้ปัญหาขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง ทำให้ชุมชน วัด และโรงเรียน มีน้ำใช้ในการอุปโภค-บริโภคได้ตลอดปี และฟื้นฟูสภาพป่า สิ่งแวดล้อม ระบบนิเวศ ให้มีความอุดมสมบูรณ์ เกิดประโยชน์กับสิ่งมีชีวิตตลอดไปอย่างยั่งยืน อีกทั้ง คณะวิศวกรรมศาสตร์ มีนโยบายด้านความรับผิดชอบต่อสังคม เป็นนโยบายที่สำคัญเกี่ยวข้องกับการนำเทคโนโลยีด้านวิศวกรรมศาสตร์มาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับกิจกรรมทางสังคม โดยองค์ประกอบที่สำคัญคือ นักเรียน นักศึกษา และประชาชนในยุค 4.0 จำเป็นต้องนำประโยชน์ด้านวิศวกรรมศาสตร์มาประยุกต์ใช้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ผลผลิต และสร้างประโยชน์ให้กับชุมชน เพื่อขยายความเข้มแข็งด้านการศึกษา และด้านเศรษฐกิจระดับชุมชนมากขึ้น ดังนั้น เพื่อให้การสร้างฝายชะลอน้ำสำเร็จและสามารถนำความรู้ด้านวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมมาประยุกต์ใช้ในการสร้างฝายชะลอน้ำสำเร็จตามเป้าหมาย คณะวิศวกรรมศาสตร์ โดยงานวิศวกรรมเพื่อความรับผิดชอบต่อสังคม จึงเล็งเห็นความสำคัญในเรื่องดังกล่าวซึ่งจะทำให้เกิดประโยชน์กับชุมชน วัด และโรงเรียนซึ่งเป็นกำลังหลักของประเทศ จึงได้จัดโครงการ “ค่ายจิตอาสาบ่มเพาะวิศวกรรุ่นใหม่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม รุ่นที่ 1” ขึ้น เพื่อฝึกทักษะการเป็นผู้นำ การถ่ายทอดความรู้ และการทำงานเป็นทีมของบุคลากรจิตอาสาในการปฏิบัติการถ่ายทอดความรู้และฝึกทักษะให้กับนักศึกษา นักเรียน และชุมชน นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อไป และเพื่อให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์คณะวิศวกรรมศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาความร่วมมือภาคอุตสาหกรรมและบริการวิชาการทางวิศวกรรมด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม และยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดลที่ 4 Management For Self-Sufficiency and Sustainable Organization

วัตถุประสงค์/Objective *:

1. เพื่อฝึกทักษะให้กับบุคลากรนักศึกษาจิตอาสา 2. เพื่อเสริมสร้างทักษะทางวิชาการด้านวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมให้กับนักศึกษา นักเรียน วัด และชุมชนเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ได้จริง 3. เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการเรียนรู้ด้านเทคโนโลยี และวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม ของนักศึกษา นักเรียน วัด และชุมชนให้สูงขึ้น 4. เพื่อให้นักศึกษา และนักเรียนได้รับประสบการณ์ตรงนอกเหนือจากการเรียนในห้องเรียน 5. เพื่อสร้างฝายชะลอน้ำด้วยศาสตร์วิศวกรรมสิ่งแวดล้อมสู่ความยั่งยืน 6. เพื่อปลูกฝังจิตสำนึกให้รู้จักการคืนสิ่งดีๆกลับสังคม

วันที่เริ่มกิจกรรม/โครงการ *:

2020-11-18

สถานที่จัดกิจกรรม/โครงการ:

ไทย

วันสิ้นสุดกิจกรรม/โครงการ *:

2021-01-15

สถานที่จัดกิจกรรม/โครงการ
(Activity / project location):

1. คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา 2. โรงเรียนวัดถ้ำองจุ

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง/
ผู้มีส่วนได้เสีย(Related Stakeholders) *:

โรงเรียนวัดถ้ำองจุ

หน่วยงานที่รับผิดชอบ(Responsible agency) *:

ผลกระทบต่อสังคมที่ประเมินได้(social impact) *:


รูปแบบการดำเนินกิจกรรม/โครงการ
(Activity / project implementation model) *:

กิจกรรม / การบรรยาย

จำนวน/ผู้ร่วมกิจกรรม(คน)
(Target / Activity country) *:

65 คน

กลุ่มเป้าหมาย/กลุ่มผู้ร่วมกิจกรรม
(Target / Activity group) *:

1. ชุมชน วัด และโรงเรียนเกิดความภาคภูมิใจ รักท้องถิ่นและภูมิลำเนาบ้านเกิด 2. ชุมชน วัด และโรงเรียนมีน้ำอุปโภคและบริโภคตลอดปี 3. โรงเรียนได้รับชื่อเสียงด้านวิชาการ 4. โรงเรียนได้รับการยกย่องเป็นโรงเรียนต้นแบบของชุมชน 5. ชุมชน และวัด ได้รับชื่อเสียงด้านการบริหารจัดการท้องถิ่น 6. นักเรียนได้เข้าศึกษาในโรงเรียนที่มีชื่อเสียง 7. เกิดการสร้างเครือข่ายร่วมกันทั่วประเทศกับมหาวิทยาลัยมหิดล

วันที่เริ่มนำไปใช้ *:

2021-01-16

ไฟล์เอกสาร

19012022105240_รูปภาพโครงการค่ายบ่มเพาะสิ่งแวดล้อม รุ่น 1 (ESR).pdf

เอกสารอ้างอิง(Reference document) (link/url) *:

- เว็บไซด์/เพจ FB : คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.มหิดล - เพจ FB : วิศวะมหิดลเพื่อสังคม - เว็บไซด์/เพจ มหาวิทยาลัยมหิดล - เว็บไซด์/เพจ พันธกิจสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยมทหิดล

SDG goal ที่เกี่ยวข้องอันดับ1 (1 Related SDGs Goal) *:

เป้าหมายที่ 15: ปกป้อง ฟื้นฟู และสนับสนุนการใช้ระบบนิเวศบนบกอย่างยั่งยืน จัดการป่าไม้อย่างยั่งยืนต่อสู้การกลายสภาพเป็นทะเลทราย หยุดการเสื่อมโทรมของที่ดินและฟิ้นสภาพกลับมาใหม่ และหยุดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ

SDG goal ที่เกี่ยวข้องอันดับ2 (2 Related SDGs Goal) *:

เป้าหมายที่ 17: เสริมความเข้มแข็งให้แก่กลไกการดำเนินงานและฟื้นฟูสภาพหุ้นส่วนความร่วมมือระดับโลกสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืน