ชื่อ/รายละเอียด/โครงการ/กิจกรรม/Activity/Lecture/Reasearch/Conference

โครงการฝึกอบรมเชิงปฎิบัติการการวิเคราะห์และคาดการณ์ปริมาณจราจร/ผู้โดยสารโดยใช้โปรแกรม OmniTRANS เบื้องต้น


ชื่อโครงการ/Project Name:

โครงการฝึกอบรมเชิงปฎิบัติการการวิเคราะห์และคาดการณ์ปริมาณจราจร/ผู้โดยสารโดยใช้โปรแกรม OmniTRANS เบื้องต้น

 

ที่มาและความสำคัญ(Background and importance) *:

ในปัจจุบัน ปัญหาด้านการจราจรและขนส่งถือว่าเป็นปัญหาที่มีความสำคัญของประเทศ ส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชากรโดยตรง และมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศไทย ลักษณะของปัญหาจราจรและขนส่งที่เกิดขึ้นในเขตเมืองมีความซับซ้อน และขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ เช่น ลักษณะโครงข่ายถนน พฤติกรรมการเดินทาง ตลอดจนสภาพเศรษฐกิจและสังคมของเมือง ดังนั้น จึงทำให้การประเมินโครงการด้านการจราจรและขนส่งจะต้องใช้ข้อมูลมาประกอบการวิเคราะห์จำนวนมากทำให้มีความยุ่งยากและใช้ระยะเวลานาน แบบจำลอง 4-Step Model เป็นหลักการวางแผนการขนส่งที่ใช้สำหรับพยากรณ์ความต้องการการเดินทาง (Travel Demand) ในเขตเมืองที่เปลี่ยนแปลงไปตามสภาพเศรษฐกิจและสังคมหรือการก่อสร้างและปรับปรุงระบบการขนส่ง (Transport System) ดังนั้น นโยบายและแผนการดำเนินงานเพื่อแก้ไขหรือบรรเทาสภาพการจราจร รวมทั้งการวิเคราะห์และคาดการณ์ปริมาณผู้โดยสารสามารถทดสอบด้วยแบบจำลอง 4-Step Model โปรแกรม OmnkTRANS เป็นโปรแกรมด้านการวางแผนและจัดการระบบคมนาคมขนส่งที่ได้รับการยอมรับจากประเทศต่างๆ ทั่วโลก เช่น อังกฤษ สหรัฐอเมริกา เนเธอร์แลนด์ และออสเตรเลีย เป็นต้น กลุ่มสาขาวิชาโลจีสติกส์และระบบขนส่งทางราง คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้จัดการเรียนการสอนด้านการวิเคราะห์ปัญหาด้านการวางแผนระบบขนส่งขั้นสูงด้วยเทคนิคการทำแบบจำลอง วิเคราะห์บทบาทของทฤษฎี ข้อมูล รูปแบบของแบบจำลองการขนส่งสี่ขั้นตอน การเก็บข้อมูล การทำแบบสอบถาม การปรับเทียบ ปรับแก้ และนำไปพยากรความต้องการเดินทาง การศึกษาความสามารรถในการบริการของระบบขนส่ง ดังนั้น การจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง "การวิเคราะห์และคาดการณ์ปริมาณจราจร/ผู้โดยสารโดยใช้โปรแกรม OmniTRANS เบื้องต้น" เพื่อเป็นการเสริมสร้างองค์ความรู้ให้แก่ อาจารย์และนักศึกษา ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนและการทำวิจัยให้สามารถดำเนินการวิเคราะห์และนำไปใช้งานได้อย่างเป็นรูปธรรมต่อไป

วัตถุประสงค์/Objective *:

1. เพื่อให้สามารถใช้โปรแกรม OmniTRANS พัฒนาแบบจำลองเพื่อการวิเคราะห์และคาดการณ์ปริมาณจราจรผู้โดยสารได้อย่างถูกต้อง 2. เพื่อนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ต่อยอดการเรียนการสอนและการทำวิจัยด้านการวิเคราะห์ปัญหาด้านการศึกษาความสามารถในการวางแผนและการบริการของระบบขนส่ง

วันที่เริ่มกิจกรรม/โครงการ *:

2021-12-01

สถานที่จัดกิจกรรม/โครงการ:

ไทย

วันสิ้นสุดกิจกรรม/โครงการ *:

2021-12-21

สถานที่จัดกิจกรรม/โครงการ
(Activity / project location):

คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.มหิดล (ศาลายา)

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง/
ผู้มีส่วนได้เสีย(Related Stakeholders) *:

-กรมการขนส่งทางราง -บ.พีเอสเค คอนซัลแทนส์ จก.

หน่วยงานที่รับผิดชอบ(Responsible agency) *:

ผลกระทบต่อสังคมที่ประเมินได้(social impact) *:


รูปแบบการดำเนินกิจกรรม/โครงการ
(Activity / project implementation model) *:

กิจกรรม / การบรรยาย

จำนวน/ผู้ร่วมกิจกรรม(คน)
(Target / Activity country) *:

21 คน

กลุ่มเป้าหมาย/กลุ่มผู้ร่วมกิจกรรม
(Target / Activity group) *:

1. จัดอบรมการใช้โปรแกรมให้กับองค์ที่เกี่ยวข้องเพื่อขยายต่อยอดการพัฒนาอย่างยั่งยืน 2. จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้สู่กระบวนการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน 3. บูรณาการศาสตร์หลายๆศาสตร์เพื่อประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์และศักยภาพสูงสุด 4. สร้างการวิจัยและบริการวิชาการร่วมกับองค์ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดการพัฒนาต่อยอดสู่สังคมที่ยั่งยืน 5. สร้างหลักสูตรวิศวกรรมลดการจราจรด้วยโปรแกรม OmniTRANS

วันที่เริ่มนำไปใช้ *:

2021-12-21

ไฟล์เอกสาร

08122022101839_รูปกิจกรรมโครงการการดำเนินงานสู่ความเป็นเลิศด้านโลจิสติกส์และระบบขนส่งทางรางของประเทศ.pdf 08122022101839_อว โครงการดำเนินงานสู่ความเป็นเลิศ.pdf

เอกสารอ้างอิง(Reference document) (link/url) *:

-https://www.eg.mahidol.ac.th/egmu/ -เพจ FB : วิศวะมหิดลเพื่อสังคม -https://www.eg.mahidol.ac.th/dept/clare/th/%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%82%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%87/rail-2.html

SDG goal ที่เกี่ยวข้องอันดับ1 (1 Related SDGs Goal) *:

เป้าหมายที่ 8: ส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่อเนื่อง ครอบคลุม และยั่งยืน การจ้างงานเต็มที่ มีผลิตภาพ และการมีงานที่เหมาะสมสำหรับทุกคน

SDG goal ที่เกี่ยวข้องอันดับ2 (2 Related SDGs Goal) *:

เป้าหมายที่ 17: เสริมความเข้มแข็งให้แก่กลไกการดำเนินงานและฟื้นฟูสภาพหุ้นส่วนความร่วมมือระดับโลกสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืน