ชื่อ/รายละเอียด/โครงการ/กิจกรรม/Activity/Lecture/Reasearch/Conference

แพลตฟอร์มกลางสำหรับการสร้างเครื่องมือบำบัดทางจิตวิทยาด้วยปัญญาประดิษฐ์


ชื่อโครงการ/Project Name:

แพลตฟอร์มกลางสำหรับการสร้างเครื่องมือบำบัดทางจิตวิทยาด้วยปัญญาประดิษฐ์

 

ที่มาและความสำคัญ(Background and importance) *:

ปัญหาสุขภาพจิตเป็นปัญหาที่สำคัญ ซึ่งในปัจจุบันประชากรไทยเริ่มเห็นถึงความสำคัญของสุขภาพจิตมากขึ้นเนื่องจากปัญหาสุขภาพจิตส่งผลต่อการดำเนินชีวิต และมีค่าใช้จ่ายในการรักษาที่สูง ในด้านการรับบริการสุขภาพจิตพบว่า บุคลากรด้านสุขภาพจิตที่มีอยู่ไม่เพียงพอและไม่สามารถบริการได้อย่างทั่วถึง การใช้เทคโนโลยีอย่างแชทบอทปัญญาประดิษฐ์เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยเหลือในการรับบริการสุขภาพจิตและดูแลสุขภาพจิตอย่างง่าย สามารถแก้ปัญหาบุคลากรด้านสุขภาพจิตที่ไม่เพียงพอได้ แต่อย่างไรก็ตามการสร้างแชทบอทเพื่อสุขภาพจิตจำเป็นต้องต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ ประสบการณ์ในเรื่องปัญญาประดิษฐ์ ควบคู่กับความรู้ด้านจิตวิทยา ทำให้ต้องใช้ระยะเวลานานและมีค่าใช้จ่ายในการพัฒนาสูง แพลตฟอร์มกลางสำหรับการสร้างเครื่องมือบำบัดทางจิตวิทยาด้วยปัญญาประดิษฐ์นี้จึงเกิดขึ้นเพื่อช่วยให้บุคลากรด้านสุขภาพจิตและจิตเวชสามารถสร้างแชทบอทได้เองผ่านแพลตฟอร์มกลางที่พัฒนาขึ้น เพื่อการบริการด้านสุขภาพจิตที่มีค่าใช้จ่ายที่ถูกและง่ายต่อการใช้งาน

วัตถุประสงค์/Objective *:

1. เพิ่มจำนวนหุ่นยนต์โต้ตอบอัตโนมัติด้วยระบบปัญญาประดิษฐ์เฉพาะทางด้านสุขภาพจิตให้มีมากขึ้น 2.พัฒนา open platform ที่ช่วยให้บุคลากรด้านสุขภาพจิตและจิตเวช สามารถสร้าง conversation agent ของตนเองได้ 3. พัฒนาส่วนการสร้าง intervention flow design ในรูปแบบของ graphic user interface (GUI-based) พร้อมเครื่องมือต่างๆ ให้สามารถใช้งานได้ โดยไม่จำเป็นต้องมีความรู้ด้านการเขียนโปรแกรม 4. พัฒนาส่วนความเข้าใจภาษาสำหรับงานด้าน mental health โดยเฉพาะ (Natural language understanding for mental health) 5. พัฒนาส่วน intervention catalog ที่เป็นเหมือน library ของ intervention tools ต่างๆ

วันที่เริ่มกิจกรรม/โครงการ *:

2021-02-15

สถานที่จัดกิจกรรม/โครงการ:

ประเทศไมย

วันสิ้นสุดกิจกรรม/โครงการ *:

2022-02-14

สถานที่จัดกิจกรรม/โครงการ
(Activity / project location):

1. ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล 2. ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิรริาชพยาบาล

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง/
ผู้มีส่วนได้เสีย(Related Stakeholders) *:

'1. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) 2. ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล 3. ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิรริาชพยาบาล 4. โรงพยาบาลทหารเรือกรุงเทพ กรมแพทย์ทหารเรือ 5. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต 6. โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง 7. คณะศิลปศาสตร์ สาขาจิตวิทยามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 8. โรงพยาบาลน่าน 9. โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ 10. ศูนย์สุขภาพจิตเขต 7 11. โรงพยาบาลประสาทเชียงใหม่ 12. โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 13. กองพัฒนานักศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 14. โรงพยาบาลยุวประสาทไวทโยปถัมภ์ 15. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา 16. ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล 17. สถาบันเวชศาสตร์การบิน กองทัพอากาศ 18. โรงพยาบาลสวนปรุง 19. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย 20. ศาลเยาวชนและครอบครัว จังหวัดกาญจนบุรี 21. กองบริการทางการแพทย์ กรมราชทัณฑ์ 22. คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 23. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

หน่วยงานที่รับผิดชอบ(Responsible agency) *:

ผลกระทบต่อสังคมที่ประเมินได้(social impact) *:


รูปแบบการดำเนินกิจกรรม/โครงการ
(Activity / project implementation model) *:

งานวิจัย/สำรวจ/ผลการศึกษา

จำนวน/ผู้ร่วมกิจกรรม(คน)
(Target / Activity country) *:

21 กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมาย/กลุ่มผู้ร่วมกิจกรรม
(Target / Activity group) *:

หน่วยงานได้พัฒนาหุ่นยนต์โต้ตอบอัตโนมัติด้วยระบบปัญญาประดิษฐ์เฉพาะทางด้านสุขภาพจิตของตัวเองและนำไปใช้บริการด้านสุขภาพจิต

วันที่เริ่มนำไปใช้ *:

2021-12-23

ไฟล์เอกสาร

12092022152340_Manual AI psychological intervention open platform.pdf

เอกสารอ้างอิง(Reference document) (link/url) *:

https://drive.google.com/file/d/1GB33jJYj39_FOQLaCSkkk5MkMwbJM38R/view?usp=sharing

SDG goal ที่เกี่ยวข้องอันดับ1 (1 Related SDGs Goal) *:

เป้าหมายที่ 3: สร้างหลักประกันว่าคนมีชีวิตที่มีสุขภาพดีและส่งเสริมสวัสดิภาพสำหรับทุกคนในทุกวัย

SDG goal ที่เกี่ยวข้องอันดับ2 (2 Related SDGs Goal) *:

เป้าหมายที่ 10: ลดความไม่เสมอภาคภายในประเทศและระหว่างประเทศ