ชื่อ/รายละเอียด/โครงการ/กิจกรรม/Activity/Lecture/Reasearch/Conference

โครงการพัฒนาการรักษาโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน โดยใช้รถโมบายสโตรคยูนิตเชื่อมต่อกับระบบปรึกษาทางไกลและการส่งต่อผู้ป่วยแบบครบวงจรสำหรับทุกคน


ชื่อโครงการ/Project Name:

โครงการพัฒนาการรักษาโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน โดยใช้รถโมบายสโตรคยูนิตเชื่อมต่อกับระบบปรึกษาทางไกลและการส่งต่อผู้ป่วยแบบครบวงจรสำหรับทุกคน

 

ที่มาและความสำคัญ(Background and importance) *:

"โรคหลอดเลือดสมองเป็นปัญหาสำคัญทั่วโลกและเป็นสาเหตุการตายอันดับ 1 ในประเทศที่มีรายได้น้อยหรือรายได้ปานกลาง จากสถิติพบว่ามากกว่าร้อยละ 80 ของผู้ป่วยโรคนี้เกิดในประเทศที่กำลังพัฒนาหรือด้อยพัฒนา ในประเทศไทยพบผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองสูงถึง 1,880 รายต่อแสนราย ผลการศึกษาเพื่อประเมินคุณภาพการรักษาในสถานพยาบาลทั่วประเทศ จากกลุ่มตัวอย่างกว่า 1,000 ราย ที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันเฉียบพลันพบว่าผู้ป่วยถูกจำหน่ายออกด้วยการเสียชีวิตร้อยละ 5 และพิการถึงร้อยละ 70 เมื่อคำนวณเป็นดัชนีการสูญเสียปีสุขภาวะ (Disability Adjusted Life years: DALYs) พบว่าภาระจากโรคหลอดเลือดสมองสูงอยู่ใน 3 อันดับแรกมาโดยตลอด และยังมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในอนาคต เนื่องจากประเทศไทยกำลังเข้าสู่ยุคของการมีประชากรสูงวัยเพิ่มขึ้น การรักษาโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันเฉียบพลัน (hyperacute period) มีความก้าวหน้าอย่างมากในปัจจุบัน โดยพบว่าเวลาเป็นปัจจัยที่สําคัญที่สุดในการรักษากล่าวคือ เมื่อเกิดการอุดตันของหลอดเลือด เนื้อสมองในบริเวณที่เป็นศูนย์กลางของการขาดเลือด (Ischemic Core) จะเกิดการตายอย่างเฉียบพลัน ซึ่งบริเวณดังกล่าวจะขยายขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อยๆเมื่อเวลาผ่านไป ส่วนเนื้อสมองบริเวณโดยรอบที่ขาดเลือดไปเลี้ยง (Ischemic penumbra) จะหยุดทํางานและตายไปในที่สุดถ้าไม่ได้รับการเปิดหลอดเลือดอย่างทันท่วงที จากการศึกษาพบว่าถ้าสามารถแก้ไขการอุดตันของหลอดเลือดสมองได้อย่างทันเวลา เซลล์ประสาทในบริเวณที่ขาดเลือดไปเลี้ยง (Ischemic penumbra) จะสามารถฟื้นตัวกลับมาทํางานได้เป็นปกติ ซึ่งจะส่งผลให้อัตราตายหรือพิการลดลง โดยการรักษาเพื่อเปิดหลอดเลือดสมองอุดตันที่มีหลักฐานยืนยันแล้วว่าได้ผลดีสามารถทําได้ 2 วิธี คือ 1) การให้ยาสลายลิ่มเลือด (rtPA) ทางหลอดเลือดดําภายใน 4.5 ชั่วโมงหลังเกิดอาการ 2) การใส่สายสวนหลอดเลือดเพื่อทําการเปิดหลอดเลือด (mechanical thrombectomy) ถึงแม้ว่าผู้ป่วยมีเวลาถึง 4.5 ชั่วโมงนับจากเกิดอาการที่สามารถได้รับยา rtPA ได้ตามข้อบ่งชี้ แต่ผลการศึกษาพบว่ายิ่งรักษาเร็วยิ่งได้ผลดี กล่าวคือ การให้ยาเร็วที่สุดจะทําให้ผู้ป่วยมีโอกาสหายเป็นปกติได้สูง พิการน้อยลงและลดอัตราตายได้ เกิดเป็นโครงการร่วมมือกันของ ศูนย์โรคหลอดเลือดสมองศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ได้ร่วมกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ดำเนินโครงการทดสอบเทคโนโลยีดิจิทัลและ 5G สำหรับให้บริการรักษาโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลันโดยใช้รถโมบายสโตรคยูนิตร่วมกับระบบปรึกษาทางไกล เพื่อรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลันในพื้นที่กรุงเทพฯ ปริมณฑล และ พื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก จังหวัดชลบุรี โดยเป็นการพัฒนาระบบปรึกษาทางไกลให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นผ่านโครงข่ายไร้สายความเร็วสูง จาก 4G มาเป็น 5G ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากกองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ตั้งแต่วันที่ 13 มีนาคม 2563 ผลการดำเนินงานเบื้องต้นพบว่าการสื่อสารผ่านระบบปรึกษาทางไกลโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและ 5G มีความรวดเร็ว ชัดเจน ส่งผลให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่ให้คำปรึกษากับบุคลากรที่ปฏิบัติงานบนรถโมบายสโตรคยูนิต สามารถตัดสินใจให้การรักษาได้อย่างรวดเร็ว ทำให้ทีมปฏิบัติการ รวมถึงผู้ป่วยและญาติเกิดความมั่นใจในการรักษา รวมทั้งเพิ่มการเข้าถึงการรักษาที่มีประสิทธิภาพให้กับประชาชนในพื้นที่ห่างไกล "

วัตถุประสงค์/Objective *:

"1.เพื่อพัฒนาแพลตฟอร์มต้นแบบที่ใช้ในการรักษาบนรถโมบายสโตรคยูนิต รวมทั้งระบบการปรึกษาทางไกลของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองผ่านระบบ Telestroke ให้กับพื้นที่เป้าหมายใน 6 จังหวัดนำร่อง คือจังหวัด สุราษฎร์ธานี ราชบุรี กรุงเทพมหานคร ชลบุรี เชียงราย และนครพนม 2. เพื่อพัฒนาระบบส่งต่อข้อมูลทางการแพทย์ ก่อนนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาล หรือหน่วยรักษาอัมพาตเคลื่อนที่ ในเขตพื้นที่บริการ 3.เพื่อพัฒนาต้นแบบการให้บริการการรักษาโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลันโดยใช้รถโมบายสโตรคยูนิต และการส่งต่อผู้ป่วยแบบครบวงจร ซึ่งจะมีผลลดขั้นตอนและความล่าช้าของการส่งต่อผู้ป่วยได้ 4.เพื่อสร้างรูปแบบนำร่องของการปฏิบัติงานของศูนย์ปฏิบัติการอำนวยการ ระดับที่ปรึกษาโรคหลอดเลือดสมองที่สามารถให้บริการให้คำปรึกษาผู้ป่วยให้ครอบคลุมพื้นที่ให้บริการ"

วันที่เริ่มกิจกรรม/โครงการ *:

2021-11-09

สถานที่จัดกิจกรรม/โครงการ:

ในประเทศไทย

วันสิ้นสุดกิจกรรม/โครงการ *:

2022-11-10

สถานที่จัดกิจกรรม/โครงการ
(Activity / project location):

ศูนย์โรคหลอดเลือดสมองศิริราช ตึก 72 ปี ชั้น 11 เลขที่ 2 ถนน วังหลัง แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร 10700

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง/
ผู้มีส่วนได้เสีย(Related Stakeholders) *:

คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และ คณะวิศวกรรมศาสตร์

หน่วยงานที่รับผิดชอบ(Responsible agency) *:

ผลกระทบต่อสังคมที่ประเมินได้(social impact) *:


รูปแบบการดำเนินกิจกรรม/โครงการ
(Activity / project implementation model) *:

กิจกรรม / การบรรยาย

จำนวน/ผู้ร่วมกิจกรรม(คน)
(Target / Activity country) *:

ผู้ป่วยหรือประชาชน/โรงพยาบาล

กลุ่มเป้าหมาย/กลุ่มผู้ร่วมกิจกรรม
(Target / Activity group) *:

"1.ผลต่อระบบบริการสาธารณสุข -โครงการนี้จะเป็นการเชื่อมต่อระบบบริการสาธารณสุขไทยให้สามารถลดความเหลื่อมล้ำในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองได้ทั้งประเทศ ถึงแม้จะอยู่ในพื้นที่ห่างไกลหรือขาดแคลนโรงพยาบาลขนาดใหญ่ โดยอาศัยแพลตฟอร์มการแพทย์ฉุกเฉินที่ได้พัฒนาขึ้น -โครงการนี้จะเป็นต้นแบบการพัฒนาดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินที่ต้องการความเร่งด่วน ไม่เฉพาะเพียงแต่โรคหลอดเลือดสมอง แต่สามารถนำไปใช้ได้กับโรคหรือภาวะอื่น ๆ ได้ รวมทั้งสามารถนำรูปแบบการปรึกษาทางไกลและเทคโนโลยีดิจิทัล และ 5G ไปใช้ในพื้นที่ต่าง ๆ ที่มีทรัพยากรจำกัดได้ 2.ผลต่อผู้ป่วยและประชาชน -ประชาชนจะเข้าถึงบริการทางการแพทย์ฉุกเฉินได้อย่างทั่วถึงมากขึ้นในพื้นที่ห่างไกลทั่วประเทศ ทำให้ลดเวลา ลดค่าใช้จ่ายและลดความเหลื่อมล้ำในการรับการรักษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ 3.ผลต่อการพัฒนาทางวิศวกรรมของไทย -โครงการนี้เน้นการใช้เทคโนโลยีในประเทศ และมุ่งการพัฒนาเทคโนโลยีโดยวิศวกรไทยเป็นหลัก โดยความรู้ ทักษะ และประสบการณ์สามารถนำไปพัฒนาต่อยอดในการออกแบบระบบด้าน e-Health ที่ได้มาตรฐาน 4.ผลต่อการต่อยอดทางเศรษฐกิจดิจิทัล -เป็นการพัฒนา Business Model ใหม่เพื่อส่งเสริมเป็นอุตสาหกรรมส่งออกในการด้านการให้บริการทางการแพทย์ และลดการพึ่งพาทางเทคโนโลยีหลักของต่างประเทศ"

วันที่เริ่มนำไปใช้ *:

2021-11-09

ไฟล์เอกสาร

02112022151252_โมบายสโตก.pdf

เอกสารอ้างอิง(Reference document) (link/url) *:

https://mahidol.ac.th/th/2020/siriraj-mobile-stroke-unit/ ,https://www.facebook.com/watch/?v=5144593865646109 ,https://thainews.prd.go.th/th/news/detail/TCATG220307200752341

SDG goal ที่เกี่ยวข้องอันดับ1 (1 Related SDGs Goal) *:

เป้าหมายที่ 3: สร้างหลักประกันว่าคนมีชีวิตที่มีสุขภาพดีและส่งเสริมสวัสดิภาพสำหรับทุกคนในทุกวัย

SDG goal ที่เกี่ยวข้องอันดับ2 (2 Related SDGs Goal) *:

เป้าหมายที่ 3: สร้างหลักประกันว่าคนมีชีวิตที่มีสุขภาพดีและส่งเสริมสวัสดิภาพสำหรับทุกคนในทุกวัย